ทำไมต้องเนื้อออสซี่! เปิด 4 เหตุผลเด็ดที่คนรักเนื้อและเชฟดังจากทั่วโลกเลือกใช้เนื้อออสเตรเลียปรุงอาหาร พร้อมแนะนำเมนูยั่วน้ำลายสูตรเด็ดจากเชฟแพม ที่ใคร ๆ ก็ทำเองได้ที่บ้านด้วยเนื้อวัวออสเตรเลีย #TrueAussieBeefTH #TrueAussieRecipe #TrueAussieBeef
เคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะเหตุใดนักชิมชื่อดังต่างยกย่องว่าเนื้อวัวออสเตรเลียมีคุณภาพยอดเยี่ยมที่สุด แน่นอน ด้วยคุณสมบัติเนื้อที่มีไขมันต่ำ ความชุ่มฉ่ำที่ยากจะต้านทาน ไปจนถึงความนุ่มนวลของเนื้อสัมผัสและรสชาติเข้มข้นที่เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์ คงเป็นคำตอบที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ความลับที่ทำให้เนื้อวัวออสเตรเลียรสเลิศได้เช่นนั้น เกิดจากการเลี้ยงดูวัวในสภาพแวดล้อมธรรมชาติซึ่งเปี่ยมด้วยอากาศบริสุทธิ์ ทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ ผสานกับมรดกทางภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมารุ่นสู่รุ่นในกระบวนการทำฟาร์มปศุสัตว์บนแนวคิดยั่งยืน โดยใช้ผ่านกระบวนการแปรรูปเนื้อวัวให้น้อยที่สุดและปราศจากการเติมสารปรุงแต่งใด ๆ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อวัวที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและรสเข้มข้นตามธรรมชาติ และทำให้คอเนื้อทั่วโลกต่างเลือกคัตเนื้อวัวจากออสเตรเลียมาปรุงเป็นเมนูโปรดขึ้นโต๊ะอาหารเสมอมา
มรดกทางภูมิปัญญาในการทำฟาร์มปศุสัตว์ของออสเตรเลียเพื่อการผลิตเนื้อวัวคุณภาพสูงที่บริโภคได้อย่างปลอดภัยแก่นักชิมทั่วโลกทำให้ออสเตรเลียกลายเป็นแหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมในอุดมคติ โดย Meat & Livestock Australia (MLA) องค์กรซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มผู้ผลิต ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนา รวมถึงทำการตลาดเพื่อสร้างความสำเร็จระยะยาวแก่อุตสาหกรรมเนื้อแดงออสเตรเลีย MLA ยังทำหน้าที่นำเสนอสาระข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อแดงออสเตรเลีย เพื่อให้ผู้บริโภคและเชฟทั่วโลกมีความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นถึงองค์ประกอบที่ทำให้เนื้อออสเตรเลียกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมไปทั่วโลก
4เหตุผลที่พิสูจน์ว่าทำไมคุณภาพของ “เนื้อวัวออสเตรเลีย” เป็นที่กล่าวขานในเรื่องของคุณภาพ
1. สุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ในฟาร์มคือสิ่งสำคัญสูงสุด ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยทางอาหารและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของออสเตรเลีย
ปศุสัตว์ออสเตรเลียดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพและเป็นธรรมชาติทั้งยังปลอดจากโรคในสัตว์หลายชนิดที่มีอยู่ในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก โดยอุตสาหกรรมเนื้อของออสเตรเลียทุ่มรักษาสุขอนามัยขั้นสูงของสัตว์ในฟาร์มผ่านการปฏิบัติงานเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพที่เข้มงวดและยังกำหนดระบบต่าง ๆ ในการตรวจสอบข้อมูลแหล่งที่มาผลิตภัณฑ์ได้ทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์ในฟาร์ม ซึ่งทำให้สัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อเกรดพรีเมียมสำหรับผู้บริโภค เริ่มจากกระบวนการผลิตที่รัดกุมนับตั้งแต่ขั้นตอนฟาร์มเลี้ยงไปจนถึงเสิร์ฟขึ้นโต๊ะอาหารนี้ ทำให้ธุรกิจการส่งออกเนื้อแดงออสเตรเลียถูกยกย่องว่ามีความเป็นเลิศระดับโลก
2. ผลิตภัณฑ์เนื้อวัวที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกความต้องการ เต็มเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติที่เข้มข้น
อุตสาหกรรมเนื้อวัวออสเตรเลียมีชื่อเสียงในการผลิตเนื้อคุณภาพสูงทั้งวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้า วัวที่เลี้ยงด้วยธัญพืช เนื้อวัวออร์แกนิก และผลิตภัณฑ์เนื้อวัวพันธุ์พิเศษ เช่น เนื้อวากิวและเนื้อแองกัส โดยเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเป็นส่วนประกอบสำคัญตามหลักโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งการเลี้ยงดูวัวในทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้วัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าของออสเตรเลียมีสัดส่วนไขมันและคลอเรสเตอรอลต่ำโดยธรรมชาติ และยังมีกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่า ซึ่งมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงมะเร็งบางชนิดได้ ในขณะที่อุตสาหกรรมโคขุนของออสเตรเลียผลิตเนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยธัญพืชที่ให้พลังงานสูงตามสัดส่วนและมีความสมดุลทางโภชนาการตามจำนวนวันที่กำหนดขั้นต่ำโดยปกติแล้วจะมากกว่า 70 วัน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อที่มีคุณภาพสม่ำเสมอและมีชั้นไขมันลายหินอ่อนซึ่งช่วยเพิ่มความนุ่ม ชุ่มฉ่ำ และรสชาติดี ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมเนื้อวัวออสเตรเลียจึงมีผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบถูกใจคนรักเนื้อทุกระดับ แม้คอเนื้อตัวจริงก็ไม่อาจปฏิเสธมื้ออาหารนี้ได้
3. ความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
ผู้ผลิตในออสเตรเลียเข้าใจดีว่าการปกป้องและปรับปรุงสภาพแวดล้อมธรรมชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านความยั่งยืนทั้งต่อการดำเนินธุรกิจและการรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว อุตสาหกรรมปศุสัตว์ของออสเตรเลียยังตั้งเป้าหมายสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2030 พร้อมกรอบการทำงาน Beef Sustainability Framework เพื่อรับรองการดำเนินงานที่ตรวจสอบตความก้าวหน้าได้ตลอดเวลา ทำให้ออสเตรเลียมีสถานะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเนื้อที่ยั่งยืนที่สุดของโลก
4. การทุ่มเงินลงทุนมหาศาลในการวิจัยเพื่อปกป้องสมบัติอันเปี่ยมคุณค่าของออสเตรเลีย
ด้วยการดำเนินงานของ Meat & Livestock Australia และการร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลีย ทำให้อุตสาหกรรมเนื้อแดงของประเทศมีการลงทุนมากกว่า 170 ล้านดอลลาร์ต่อปีในการวิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมนับตั้งแต่ขั้นตอนการปศุสัตว์และการปรับปรุงพันธุกรรม ไปจนถึงมาตรฐานคุณภาพเนื้อ การสืบค้นข้อมูลแหล่งผลิต และการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เนื้อออสเตรเลียยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างในตลาด
เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม แบรนด์แอมบาสเดอร์ True Aussie Beef ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ด้วยคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้บริโภคทั่วโลกจะหลงรักเนื้อวัวคุณภาพสูงจากออสเตรเลีย ทุกวันนี้ผู้คนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นว่าอาหารที่พวกเขากินมีแหล่งผลิตจากไหนเพราะเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและรสชาติอาหารโดยตรง ซึ่งเนื้อวัวออสเตรเลียคือตัวเลือกอันดับหนึ่งของแพมค่ะ เพราะมีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอและรสชาติระดับพรีเมียม”
เมนูที่เชฟแพมนำเสนอในวันนี้คือ Beef Sando, House Mustard Mayo, Chili Sauce, House Kyokotsu Sauce ซึ่งใช้เนื้อส่วนใบพาย (Oyster Blade) MB 6/7* เป็นวัตถุดิบ โดยเนื้อใบพายคือกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างใต้หัวไหล่ของวัว ซึ่งต้องใช้ส่วนนี้เพราะเมื่อปรุงแล้ว เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะละลายคอลลาเจนเข้าไปในเนื้อ ทำให้เนื้อย่างมีรสชาติหอมเข้มข้นและนุ่ม เนื้อส่วนใบพายยังสามารถนำมาหั่นทอดในกระทะเพื่อปรุงเป็นสเต็กหรือหั่นเป็นลูกเต๋าแล้วตุ๋นโดยใช้เวลานานได้
ทุกคนอาจจะสงสัยว่าค่า MB คืออะไร? ค่า MB (Marbling)คือระดับชั้นไขมันลายหินอ่อนที่แทรกในชั้นกล้ามเนื้อของวัวตามธรรมชาติ ซึ่งชั้นไขมันลายหินอ่อนจะช่วยเพิ่มความชื้นและรสชาติให้กับเนื้อวัว เมื่อปรุงแล้วจะช่วยให้เนื้อมีความชุ่มฉ่ำมากยิ่งขึ้นยิ่งเนื้อวัวเกรดสูงจะยิ่งมีชั้นไขมันลายหินอ่อนแทรกตัวอยู่หนาแน่นมาก เนื้อจากออสเตรเลียจะถูกแบ่งเกรดจากระบบการประเมินชั้นไขมันลายหินอ่อนโดย AUS-MEATตั้งแต่ระดับ 0 (ปราศจากชั้นไขมันลายหินอ่อนที่มองเห็นได้) ไปจนถึงระดับ 9 (ปรากฏชั้นไขมันลายหินอ่อนหนาแน่น) หากเราใช้เนื้อที่มีชั้นไขมัน ลายหินอ่อนมากปรุงอาหาร ก็จะได้เมนูเนื้อที่มีรสชาติที่เข้มข้นขึ้นด้วย
การปรุงเมนู Beef Sando, House Mustard Mayo, Chili Sauce, House Kyokotsu Sauce (ด้วยเนื้อใบพายหรือOyster Blade MB 6/7*)
วัตถุดิบ:
คัตสึซอส
- ขิง 50 กรัม
- กระเทียม 60 กรัม
- น้ำตาลทรายแดง 20 กรัม
- ซอสมะเขือเทศ 200 กรัม
- วูสเตอร์ซอส 160 กรัม
- น้ำผึ้ง 12 กรัม
- ซอสถั่วเหลืองสูตรลดเกลือ 12 กรัม
- เกลือ 4 กรัม
เนื้อวัว
- เนื้อใบพายแฟลตไออ้อนจากออสเตรเลีย MB 6/7* หนัก 1 ½ ปอนด์ (หั่นเป็นชิ้นละ6 ออนซ์ 4 ชิ้น)
- เกลือ 1 ½ ช้อนชา แยกไว้
- พริกไทย 1 ช้อนชา แยกไว้
- แป้ง½ ถ้วย
- ไข่ 1 ฟอง (ตอกไว้ให้เรียบร้อย)
- นม ¼ ถ้วย
- เกล็ดขนมปัง 1 ½ ถ้วย
- กระเทียมผง ¼ ช้อนชา
- น้ำมันกาโนลาสำหรับผัด 2 ถ้วย
- ขนมปังโทสต์หั่น 8 ชิ้น
ขั้นตอนการปรุง
ขั้นตอน 1:ค่อย ๆ ใช้ค้อนทุบเนื้อแฟลตไออ้อนแต่ละชิ้นให้เหมาะสมขนาดของขนมปัง โดยทุบให้แต่ละชิ้นหนาประมาณ ½ นิ้ว ปรุงรสเนื้อสเต็กด้วยเกลือ 1 ช้อนชา และพริกไทย ½ ช้อนชา สามารถลอกขอบขนมปังออกได้ตามความชอบ
ขั้นตอน 2: เตรียมทำขนมปังโดยใช้ชาม 3 ใบ ชามใบแรกใช้ผสมแป้งกับเกลือและพริกไทยที่เหลือ ชามใบที่สองตีไข่ผสมกับนม ส่วนชามใบที่สามใส่เกล็ดขนมปังเตรียมไว้
ขั้นตอน 3: คลุกเนื้อสเต็กกับแป้ง เขย่าเศษแป้งส่วนเกินออก จุ่มลงในไข่ที่ตีไว้ แล้วคลุกเนื้อสเต็กบนเกล็ดขนมปังให้ทั่วทั้งสองด้าน พักสเต็กแฟลตไออ้อนบนตะแกรง ช่วงที่รอหันไปเตรียมซอส
ขั้นตอน 4: ผัดขิงกับกระเทียมให้ส่งกลิ่นหอม เติมส่วนผสมที่เหลือลงไปและเคี่ยวให้ข้น
ขั้นตอน 5: อุ่นน้ำมันในกระทะก้นลึก (เหมือนหม้อแบบดัตช์หรือกระทะเหล็กหล่อขนาดใหญ่) เมื่อน้ำมันร้อนถึง 375°F วางเนื้อสเต็กลงไป 2 ชิ้น ทอดด้านละ 90 วินาทีหรือจนกว่าเนื้อสเต็กจะเป็นสีน้ำตาลทองและให้อุณหภูมิในชิ้นเนื้อสูงถึง 130°Fจะให้ความสุกระดับ medium-rare นำสเต็กขึ้นพักบนตะแกรง 5 นาทีก่อนเสิร์ฟ
ขั้นตอน 6: นำเนื้อใบพายออสเตรเลียที่ปรุงวางบนขนมปังที่ทาซอสแล้ว โปะหน้าด้วยขนมปังชิ้นที่สอง แค่นี้ก็พร้อมเสิร์ฟ
###