สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จัดแสดงสินค้าในโครงการ U2T for BCG
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 คุณซาบีดา ไทยเศรษฐ์ เป็นประธานเปิดงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้านเศรษฐกิจ ( U2T for BCG) โดยมี รศ.ดร.เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน นายไพฑูรย์ ฟักเขียว ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชน (อว.ส่วนหน้า) ร่วมในพิธีเปิด และเยี่ยมชมการแสดงสินค้าจาก 48 ตำบลในจังหวัดอุทัยธานี ณ ตลาดซาวไฮ่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
รศ.ดร. เสถียร ธัญญศรีรัตน์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดตัวโครงการ U2T for BCG คือ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน ที่ต้องการร่วมงานเป็นทีมเดียวกับ อว. ซึ่งจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ได้รับมอบการดูแลในจังหวัดอุทัยธานีทั้งสิ้น 43 ตำบล
โดยในแต่ละตำบลมีความโดดเด่นต่างกันไป อาทิ ตำบลระบำมีความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการทอผ้า การจักรสาน จนเป็นที่รู้จัก และมีการสั่งทอผ้าเข้ามาเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปใช้ตัดชุด เป็นของที่ระลึก ฯ หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย การจักสานหวาย ไม้ไผ่ เพื่อใช้ในครัวเรือนและปรับปรุงเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
ซึ่งการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)เป็นสินค้าจากชุมชนที่ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทีมงาน U2T for BCG ของจังหวัดอุทัยธานี แพ็คเก็จที่สวยงามเหมาะแก่การเป็นของฝาก หรือเลือกซื้อเพื่อประดับบ้าน มีทั้งผ้าไหม เครื่องเงิน ตระกร้าสาน งานไม้ต่างๆในราคามิตรภาพ และได้คุณภาพที่ดี
ด้านคุณขนิษฐา อินทร์สวรรค์ หัวหน้าโครงการ U2T for BCG กล่าวว่า สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันได้มีโอกาสเข้ามาดูแลโครงการ U2T BCG ในส่วนของจังหวัดอุทัยธานี ทั้งสิ้น 43 ตำบล ได้เห็นความแตกต่างของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน อาทิ พื้นที่ตำบลระบำ ตำบลโนนเหล็ก ตำบลพลวงสองนาง เป็นต้น ซึ่งเหมาะด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ พื้นที่ตำบลโคกหม้อ ตำบลทองหลาง ตำบลแก่นมะกรูด และอีกหลาย ๆ ตำบล เหมาะด้านการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ให้เข้าสู่ระดับโลกอย่างเช่น ผ้าไทย เครื่องจักรสาน บางพื้นที่ ทำสินค้าไว้จำหน่ายเองภายในชุมชน แต่มีรสชาดดี สามารถนำมาต่อยอดขายได้ทางเราก็แนะนำการดำเนินงาน ประกอบกับ ประสานงานยังพัฒนาชุมชนจังหวัดในการส่งเสริมความรู้เพื่อต่อยอดเป็น SMEs ชุมชน ต่อยอดเป็นOTOP ต่อไป
###