รู้หรือไม่ BMI>25 เป็นโรคอ้วน !!! เสี่ยงโรคแทรกซ้อน> 200 โรค เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ ตับ ไต คาดฯ ส่งผลกระทบหนักต่อระบบสาธารณสุขไทย!!!
ลองเช็ค BMI กันหน่อยไหม??
(BMI = น้ำหนักตัวตัว (kg)/ส่วนสูงกำลังสอง (m2)
- คนไทย อ้วน 42% และครึ่งนึงของคน กทม “อ้วน”
- น่าเหลือเชื่อ!!! การลดน้ำหนัก 10% ช่วยลดเบาหวานได้ถึง 29% ใน 10 ปีข้างหน้า
สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ร่วมกับ บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด จัดเสวนาวิชาการแก้ปัญหา”โรคอ้วน” ในหัวข้อ “OBESITY”: A Public Health Crisis” ภายในงานประชุมวิชาการประจำปี Thai NCD Alliance 2023
ภายใต้ Theme “Fighting the Obesity Pandemic”แก่แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ทั่วประเทศ ณ ศูนย์การประชุม ทรูไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร โดยได้พูดคุยถึงในหลายแง่มุม ไม่ว่าเรื่ิองของค่าใช้จ่ายที่ทางภาครัฐต้องแบกรับจากปัญหาโรคอ้วน ความเร่งด่วนในการจัดการปัญหาโรคอ้วนจากทุกภาคส่วน การมีนโยบายป้องกันโรคอ้วนและผลักดันแนวทางการรักษาโรคอ้วนที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับคนไข้กลุ่มนี้
- รองศาสตราจารย์นายแพทย์เพชรรอดอารีย์นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย
กล่าวสรุปว่า“โรคอ้วน” เป็นโรคสำคัญที่ควรตระหนักอย่างเร่งด่วน เนื่องจากส่งผลต่อโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา อีกทั้งแนวโน้มของโรคอ้วนในประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจในปี 2563 โรคอ้วนเพิ่มขึ้นสูงถึง 42% โดยกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นสูงถึง 56% ซึ่งสูงขึ้นมาก เทียบได้ว่าครึ่งหนึ่งของคนกรุงเทพเป็นโรคอ้วน ทำให้ต้องร่วมมือเร่งหาวิธีป้องกันและแก้ไขวิกฤตโรคอ้วนนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชน
โดยในส่วนของสมาคมฯ เรามีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย เช่น กิจกรรมของเครือข่ายคนไทยไร้พุง ซึ่งร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อแห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ด้วย ผลักดันการป้องกันและรักษาโรคอ้วน ในเด็ก หรือการทำให้คนไม่อ้วน ซึ่งนอกจากดูเป็นรายๆ ไปแล้ว การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม และไม่ใช่แค่หมอ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิ่งต่างๆที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น เช่นสถานที่ออกกำลังกายสาธารณะ ทางเดินเท้าน่าเดิน อาหารสุขภาพหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก เป็นต้น
ทางภาครัฐควรมีการกำหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในการป้องกัน ดูแล และรักษาโรคอ้วนในปัจจุบันและเร่งระดมแผนการตั้งรับความเสี่ยงในการแบกรับต้นทุนงบประมาณจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากโรคอ้วนในอนาคตจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมอนามัย และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น สำหรับในส่วนของภาคเอกชน คงเป็นเรื่องของการขอความร่วมมือในเรื่องของการควบคุมปริมาณน้ำตาล ความหวาน ในอาหารและเครื่องดื่ม การมุ่งเน้นการส่งเสริมค่านิยมในการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการส่งเสริมค่านิยมในการออกกำลังกาย
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
ได้แสดงความเห็นโดยรวมว่า ทางการแพทย์ได้ระบุว่า “ความอ้วน” เป็นโรคอย่างหนึ่งที่ปัจจุบันควรตระหนักถึง และควรดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพราะหากดูแลไม่ถูกวิธีอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ทำให้การรักษายากขึ้น อีกทั้งเมื่อเป็นโรคอ้วนแล้วจะส่งผลร้ายแรงต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะโรคแทรกซ้อนต่างๆ ถึง 200 โรค อาทิเช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจและหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
จากหัวข้อการประชุมในวันนี้ มีการกล่าวถึง “Obesity Burden ในประเทศไทย”ว่าหากสามารถลดน้ำหนักผู้ป่วยได้ 10% จะสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 29% ใน 10 ปีข้างหน้า และอย่างในสถานการณ์โควิดล่าสุด โรคอ้วนก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากขึ้นในผู้ป่วยโควิด ทำให้เราต้องระวังไม่ให้เกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ซึ่งการรักษาที่ดีที่สุดคือการลดน้ำหนักในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งดิฉันมองว่า เราควรจะมีการกระทำที่เป็นรูปธรรม ในภาพของความร่วมมือของทุกภาคส่วน อาทิเช่น ประชาชน ครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ และหน่วยงานเอกชน เพื่อจะทำให้ตัวเลขนี้เกิดขึ้นได้จริงในอนาคต”
- คุณEnrico Canal Bruland Vice President & General Manager
บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด
ได้ให้มุมมองของบริษัทฯ ซึ่งเป็นบริษัทยาผู้นำนวัตกรรมด้านยารักษาโรคอ้วนและโรคเบาหวาน เรามุ่งมั่นเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอ้วน ที่ผ่านมาเราได้ลงทุนในเรื่องงานวิจัย รวมถึงการเร่งให้ผู้ป่วยโรคอ้วนไทยเข้าถึงนวัตกรรมยารักษาโรคอ้วนได้ อีกทั้งมีแผนความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับทางภาครัฐ และเอกชนหน่วยงานต่าง ๆ ในการเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปแบบยั่งยืน
อย่างที่ทราบว่าภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคอ้วนส่งผลกระทบทางการเงินอย่างมากของประเทศ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องร่วมมือกันทันที เพื่อแก้ไขวิกฤติโรคอ้วนในครั้งนี้ มิฉะนั้นโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนจะกลายเป็นวิกฤติของระบบสาธารณสุขในที่สุด ซึ่งหากดูจากอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ป่วยโรคอ้วนในปัจจุบัน
ณ วันนี้ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายโดยรวมอยู่ที่ 6.6% ของ GDP แต่ในขณะที่ 1.5% ของ GDP เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนต่างๆจากโรคอ้วน ซึ่งในอนาคตจะมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.4 % GDP หรือมากกว่า 4 เท่า หากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม
วิกฤติโรคอ้วนนี้จะส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อทุกคนในประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ทางบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นและมีแผนสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับทางภาครัฐอย่างจริงจังในการเอาชนะโรคอ้วน และส่งเสริมระบบสาธารณสุขไทยเดินหน้าอย่างยั่งยืนในอนาคต
**** นอกจากนั้น
ในบรรยากาศหัวข้อการเสวนา
“OBESITY”: A Public Health Crisis”
เป็นไปด้วยดี ภายใต้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในประเทศไทย จากหลายภาคส่วน
โดยได้รับเกียรติจาก …
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงวรรณีนิธิยานันท์
นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยมีวิทยากรเข้าร่วมเสวนา ดังต่อไปนี้
- รองศาสตราจารย์นายแพทย์ดิลกภิยโยทัย
คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวโดยสรุปในมุมมองของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่า
- หากสามารถลดน้ำหนักผู้ป่วยโรคอ้วน ได้ 10% จะสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 29% ใน 10 ปีข้างหน้า
- อุบัติการณ์การเสียชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับโรคที่มีสาเหตุมาจากโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
- ส่งผลต่อค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้นในการรักษาโรคแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มมากขึ้น 140% ในอีก 10 ปีข้างหน้า
- เทียบเป็น %GDP ซึ่งประเทศไทยในอนาคตจะมีโอกาสมีค่า %GDP เพิ่มขึ้นเป็น 6.4 % หรือมากกว่า 4 เท่า หากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม
- การลดน้ำหนักลง สามารถช่วยลดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้น้อยลง เช่น ลดการเกิดโรคเบาหวาน หรือลดอัตราการตรายจากโรคหัวใจ เป็นต้น
- ในกรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด ประมาณ 5,490,000 คน คำนวณจากประชากรที่มีโรคอ้วนซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 20-69 ปี,BMI > 30-50 จำนวน356,000 คนพบว่า อีก 10 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 เท่า หากสามารถลดน้ำหนักได้เพียง 10% จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ถึง สองพันล้านบาท
- การผ่าตัดโรคอ้วน ปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้ (มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิทธิ์การรักษาพยาบาล) โดยจะมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่ ในกรณีที่ผู้ป่วย มีค่า BMI≥37.5 (ไม่มีโรคร่วม) หรือ ≥32.5 + โรคร่วม 1 โรคขึ้นไป
- แต่ในปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์ในการเบิกจ่ายยารักษาโรคอ้วนที่ชัดเจน หากเรามองว่าโรคอ้วนอาจส่งผลกระทบในระยะยาว ทั้งต่อผู้ป่วยและเศรษฐกิจ อาจจะต้องมีการกำหนดแนวทางให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- นายแพทย์กฤษฎาหาญบรรเจิด
ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กล่าวโดยสรุปว่า “
ปัจจุบันกรมควบคุมโรคมีการดำเนินการจัดการโรคอ้วน ในระบบ Health Service ผ่าน “NCD Clinic Plus” ซึ่งจะดูแลเรื่องการควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน และโรคความดันในเลือดสูง เป็นต้น
มีกลยุทธ Workplace Policyในการผลักดันนโยบายที่จะทำให้หน่วยงานราชการและเอกชน มีนโยบายสุขภาพดีให้กับคนในองค์กร เป็นการลดอัตราผู้ป่วยโรคอ้วนในประชากรไทย
มีการผลักดันการดำเนินการ“NCD Clinic Plus”ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เช่น ส่งเสริมการทำ Life Style Modification หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สนับสนุนชุมชน สำรวจสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อโรคอ้วนว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่นอาหารหรือเครื่องดื่มที่หวานมากเกินไป และสร้างภูมิคุ้มกัน ในพื้นที่ชุมชน เช่นพื้นที่ออกกำลังกาย และการสร้างความรู้ ความตระหนักเพื่อชะลอโรคอ้วนเป็นต้น
- รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์สถิตย์นิรมิตรมหาปัญญา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
กล่าวโดยสรุปว่า
ในปัจจุบันการประเมินโรคNCD ทั้งน้ำหนักและเส้นรอบเอวถูกบรรจุอยู่ในแนวทางพื้นฐานของการประเมินและการวินิจฉัยโรคในหลายๆฉบับและในอนาคตควรมีการกำหนดและวางแผนยุทธศาสตร์ในการทำสงครามกับโรคอ้วนอย่างจริงจังมากขึ้น
การดูแลและรักษาโรคอ้วนในปัจจุบันนอกจากจะดูในเรื่องของข้อบ่งชี้ในการรักษาแล้วยังต้องดูในเรื่องสุขภาพจิตใจโรคร่วมต่างๆและความพร้อมในการรักษา
ต้องยอมรับว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในการทำสงครามกับโรคไม่ติดต่อยอมรับว่าค่อนข้างลำบากเราจะต้องมีการผลักดันทางนโยบายและยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุมระบบecosystem ของobesity ทั้งหมดเพื่อทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
- คุณรชตะอุ่นสุข
ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายด้านสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
กล่าวโดยสรุปว่า
“ในมุมมองของกรมบัญชีกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่ดูแลสิทธิประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาล มองว่า การมีข้อกำหนดและแนวทางการรักษาโรคอ้วนที่ชัดเจน จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการเบิกจ่ายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลกับผู้ป่วยโรคอ้วนในอนาคต”
“Payment mechanism related to Medical service เสมอ”
สิ่งสำคัญคือการ Collaborate ระหว่างภาควิชาการในการกำหนดไกด์ไลน์หรือข้อบ่งชี้ในการรักษาให้ชัดเจน มีการศึกษาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ (Cost Effectiveness) ในการรักษาผู้ป่วยก่อนที่จะไปถึงการผ่าตัด อาทิเช่น Lifestyle medicine หรือยารักษาโรคอ้วน เป็นต้น
###