ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิดอาคาร E-BUILDING ของ Ferrari อย่างเป็นทางการ โรงงานผลิตรถยนต์ที่ออกแบบโดยให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนและสามารถผลิตรถที่มีระบบส่งกำลังที่หลากหลาย
มาราเนลโล, 21 มิถุนายน 2024 - โรงงาน e-building ซึ่งจะใช้เพื่อผลิตทั้งรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน, ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของ Ferrari เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยมีประธานาธิบดี Sergio Mattarella ของอิตาลีร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและมีJohn Elkannประธาน, Piero Ferrariรองประธาน, Benedetto Vigna ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO)และตัวแทนพนักงานของ Ferrari ให้การต้อนรับ
"Ferrari รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประธานาธิบดี Mattarella มาร่วมในพิธีเปิดอาคารe-building ซึ่งเป็นโรงงานแห่งใหม่ที่ผสมผสานความสำคัญของบุคลากรเข้ากับสถานที่ทำงาน และดำเนินการด้วยความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม"John Elkannประธานของ Ferrari กล่าว "การลงทุนบนพื้นที่ของเรานับเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมของ Ferrari สู่อนาคตได้อย่างมั่นใจ และยังเน้นย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะส่งมอบรถยนต์ที่เป็นเลิศในฐานะตัวแทนของประเทศอิตาลี"
Production flexibility(ความยืดหยุ่นด้านการผลิต)
อาคาร e-building นี้ทำให้Ferrari มีความยืดหยุ่นในการผลิตรถยนต์ พร้อมกับการใช้กลยุทธ์ที่เน้นความสำคัญด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณ นอกจากนั้น โรงงานนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาทางด้านเทคโนโลยีที่ยอดยี่ยมเนื่องจากเป็นโรงงานที่ทั้งผลิตและพัฒนาทั้งเครื่องยนต์สันดาปภายใน, เครื่องยนต์ไฮบริด และมอเตอร์ไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นระบบขับเคลื่อนแบบใด ก็สามารถมอบความตื่นเต้นในการขับขี่อันเป็นเอกลักษณ์ของ Ferrari ได้อย่างแน่นอน
การรวบการผลิตของรถยนต์ทั้งหมดไว้ในอาคารเดียวกัน ช่วยให้ Ferrari สามารถจัดระเบียบและจัดสรรกระบวนการผลิตใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถปรับการดำเนินงานให้เข้ากับความต้องการในการผลิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
อาคาร e-building เป็นโรงงานที่ครบครันด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยและเป็นที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบ (รถยนต์) ไฟฟ้าที่ยกระดับเทคโนโลยีและสมรรถนะของ Ferrari ขึ้นไปอีกขั้น ได้แก่ แบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงดันสูง,ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า
Focus on the environment(มุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม)
อาคารแห่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อความสามารถในการประหยัดพลังงานสูงสุด โดยอาศัยพลังงานจากแหล่งต่างๆ รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์กว่า 3,000 แผ่นบนหลังคาที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง1.3 เมกะวัตต์ และเมื่อโรงไฟฟ้าระบบ Tri-generation หยุดดำเนินการตามกำหนดการณ์ช่วงปลายปีนี้ อาคารแห่งนี้จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตจากทั้งแหล่งภายในและภายนอกโรงงานที่สามารถระบุแหล่งที่มาได้แทน
มีการนำกระบวนการที่ล้ำสมัยมาใช้เพื่อนำพลังงานและน้ำฝนกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น พลังงานกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้สำหรับการทดสอบแบตเตอรี่และมอเตอร์ จะถูกกักเก็บในตัวสะสม (Accumulators) และนำกลับไปใช้เป็นพลังงานให้กับกระบวนการผลิตอื่นๆ ต่อไปอีกครั้ง
โรงงานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นทางทิศเหนือของบริเวณโรงงาน Ferrari ซึ่งกำลังมีการขยายเพิ่มเติม พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินที่มีอยู่แล้วและนำมาพัฒนาใหม่เพื่อแทนที่รูปแบบโครงสร้างการผลิตและการใช้พลังงานแบบดั้งเดิม
The focus on people(การให้ความสำคัญกับบุคลากร)
การอบรมและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานคือหัวใจสำคัญในการออกแบบครั้งนี้ โดยมีการจัดสรรพื้นที่สำหรับการฝึกอบรมโดยเฉพาะ
ทาง Ferrari มีการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานในไลน์การผลิตใหม่เอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการที่จำเป็นสำหรับระบบและผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไฟฟ้าควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมเชิงกลและอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของ Ferrari เสมอมา รวมไปถึงความรู้ความสามารถอื่นๆ อาทิ ด้านเคมีและกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีการใช้หุ่นยนต์ร่วมในกระบวนการผลิต โดยสามารถปรับการทำงานของหุ่นยนต์ให้เข้ากับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานได้ พร้อม Digital Twins ที่สามารถสร้างแบบจำลองดิจิตอลของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตต่างๆ ได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้พนักงานสามารถควบคุมเทคโนโลยีได้ตามคำสั่งอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มบทบาทความสำคัญของพนักงานในกระบวนการผลิตโดยให้ความสำคัญในการสร้างความเป็นเลิศและความใส่ใจในทุกรายละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้รถยนต์ Ferrari แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ
ภายในโรงงานออกแบบโซลูชั่นต่างๆ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของพนักงานในสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทำงานที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์,มีพื้นที่พักผ่อน,มีความเหมาะสมด้านเสียงและแสง รวมถึงการผสมผสานแสงธรรมชาติและแสงสังเคราะห์อย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากร
Focus on the community(อยู่ร่วมกับชุมชน)
อาคาร e-building นี้ เป็นการยืนยันถึงบทบาทสำคัญของFerrari ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ผ่านการลงทุนอย่างต่อเนื่องและยังคงตอบสนองความต้องการของชุมชนที่เฉพาะเจาะจง
ความสมบูรณ์แบบของอาคาร e-building คือ การออกแบบอาคารขนาด 100,000 ตร.ม. ให้มีความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับบริบทของตัวเมืองโดยรอบอาคาร รวมถึงการออกแบบโครงสร้างถนนต่างๆ ให้สอดคล้องไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดของถนนและเลนปั่นจักรยานที่มีความยาว 1.5 กม. เชื่อมไปยังเครือข่ายถนนภายในเมือง
ในส่วนถนนรอบอาคาร e-buildingก็ยังให้ความสำคัญกับการจัดการที่ต้องมีความคล่องตัวและต้องไม่รบกวนคนเดินถนน
The architectural design(การออกแบบสถาปัตยกรรม)
ด้านนอกอาคารและพื้นที่หลักภายในของ e-building ได้รับการออกแบบโดย MCA (Mario Cucinella Architects) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านออกแบบอาคารที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ยั่งยืน การใช้งานร่วมกันระหว่างพื้นที่รอบๆ ร่วมกับทีมงานของFerrari
อาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูง 25 เมตรหลังนี้กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์และอาคารโดยรอบการตกแต่งพื้นที่งานภายนอกอาคาร ได้รับการออกแบบอย่างเฉพาะเจาะจงด้วยพื้นผิวแบบพิเศษและมีประสิทธิภาพสูงการเลือกใช้กระจกสีโอพาลีน (เขียวใส) สลับกับกระจกใสบางส่วนช่วยลดความรู้สึกทึบตันของตัวอาคารขนาดใหญ่ และยังช่วยให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้าไปภายในอาคารได้ทั่วถึง ขณะที่ตอนกลางคืนตัวอาคารจะดูคล้ายกับตะเกียงที่กำลังส่องแสงสุกสกาว
ส่วนประกอบของผนังด้านนอกของอาคาร ได้รับการออกแบบและผลิตตามหลักการออกแบบและการประกอบ (DfMA - Design for Manufacturing and Assembly) เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและการดูแลรักษาในสถานที่จริง ด้วยวิธีนี้จึงลดทั้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการนำทรัพยากรมาใช้ในกระบวนการการผลิตและประกอบ
e-building DATA AND INFORMATION
สถาปนิกโครงการ Mario Cucinella Architects
ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี
พนักงานก่อสร้าง 350 คน
พื้นที่ทั้งหมด 42,500 ตร.ม.
พื้นที่ใช้สอย ชั้นใต้ดิน: งานระบบทั่วไป
ชั้นล่าง: ประกอบรถยนต์และโลจิสติกส์
ชั้นลอย: งานระบบทั่วไป, สำนักงาน
ชั้นสอง: ประกอบรถยนต์, เครื่องยนต์ และส่วนประกอบ
พนักงานใน E-building มากกว่า 300 คน
มาตรฐานด้านพลังงาน อยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน:
LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ระดับแพลทินัม
NZeb (อาคารที่ใช้พลังงานใกล้เคียงเท่ากับศูนย์ –Near Zero Energy Building)
ประสิทธิภาพด้านพลังงาน ลดการปล่อย CO2e ได้ 2.7 กิโลตัน เมื่อเทียบกับอาคารที่ไม่ได้ใช้ระบบไฟฟ้าล้วน
ในด้านของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ระบบโซลาร์เซลล์ แผงโซลาร์เซลล์กว่า 3,000 แผ่น กำลังไฟฟ้าสูงสุด 1.3 เมกะวัตต์
โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล Wi-Fi 6.0 สำหรับการจัดการข้อมูลการผลิต
ระบบ Ultra-wideband ช่วยติดตามและแสดงชิ้นส่วนแบบ 3 มิติ ระหว่างการประกอบ และป้องกันการชนกันของรถไร้คนขับ AGV (Automated Guided Vehicles) ที่ใช้สำหรับขนส่งชิ้นส่วนและรถยนต์
การจัดการน้ำ แท็งก์เก็บน้ำฝนขนาด 200 ลูกบาศก์เมตรสำหรับการเก็บกัก รักษา และนำกลับมาใช้ใหม่
แท็งก์กักเก็บน้ำส่วนเกินขนาด 1,000 ลูกบาศก์เมตร
พื้นที่สีเขียว ต้นไม้ 200 ต้น
ที่จอดรถ 1,400 คัน (มากกว่าที่จำเป็น เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อที่จอดรถสาธารณะในท้องถิ่น)
###