สศท. จับมือพันธมิตร SIAMPIWAT และ The Mall Group พัฒนางานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ร่วมกับพันธมิตร บริษัทSIAMPIWAT จำกัด และ บริษัท The Mall Group จำกัด พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยรองรับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดสากล (Universal Craft Market)
นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า สศท. มีพันธกิจหลักในการ สืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน หนึ่งในภารกิจสำคัญคือการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้มีความร่วมสมัย และตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ รวมถึงการส่งเสริมศักยภาพผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งในปี 2567 สศท. ได้ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตลาดสากล (Universal Craft Market) โดยนำหลักการด้านสร้างสรรค์ มาสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาการออกแบบรูปแบบให้งานศิลปหัตถกรรมไทยมีความหลากหลาย ทันยุคสมัย เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทย และเปลี่ยนความรู้ ออกแบบ ผลิต จำหน่าย รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตราฐานงานศิลปหัตถกรรมไทยที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดการค้าทั้งในและต่างประเทศ สำหรับในกิจกรรมความร่วมมือด้านการออกแบบงานศิลปหัตถกรรม (Universal Craft Design Collaborations) เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และความต้องการของตลาด ตลอดจนกลยุทธ์ทางการค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อพัฒนารูปแบบงานศิลปหัตถกรรมไทยได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยในโครงการฯ สศท. ได้ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมแนะนำให้เกิดการนำภูมิปัญญามาใช้ในงานศิลปหัตถกรรมไทยได้อย่างร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ คุณนภัศภรณ์ ประดาศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารสินค้า ICONCRAFT และ คุณ ศิวัจน์ เลิศศศิศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ART & VISUAL MERCHANDISE บริษัท The Mall Group จำกัด มาร่วมเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 6 ราย ดังนี้ กลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม 1. คุณภรฎา ศรีอ่อนหล้า แบรนด์ pharata2. คุณณิชาญา แซมลำเจียก บริษัท ปิยาสีลา จำกัด / ประธานกลุ่มเพชปุระ 3. คุณแสน ศรีสุโร แบรนด์ หอม-กลิ่น-ดิน 4. คุณณภัค ปทิตชัยเกษม แบรนด์ เพชรน้ำหนึ่ง 5. คุณพิริยะ พรหมแก้ว แบรนด์ กระจูดบายใจ และ 6. คุณกิตติพงษ์ ปงผาบ แบรนด์ คิท คราฟต์Kith Craft ซึ่งผลงานทั้ง 25 ผลงานจากกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมนี้ สศท. ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงสู่สากลต่อไป
นางสาวณิรชญา จังติยานนท์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม, สำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมกล่าวว่า การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมสู่สังคมและเพื่อให้เกิดมูลค่าได้อย่างยั่งยืน ปัจจัยสำคัญของการสร้างคุณค่านี้ผู้ผลิตฯ ต้องสื่อสารอย่างไร ให้เกิดการรับรู้ที่ชัดเจนValue Creation การสร้างมูลค่าที่เน้นตัวผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์เดิม หรือคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่โดยอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การคำนึงถึงต้นน้ำการผลิต และปลายทางของการสื่อสารผลิตภัณฑ์นั้นๆ แน่นอนว่ารวมถึงการสร้างแบรนด์ สร้างตัวตน และการสื่อสารแบรนด์ ในกระบวนการการสร้างและรักษาอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่สอดคล้องกันตลอดการสื่อสารผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของคุณ รวมถึง Integrated Marketing. Communication: IMC) การสื่อสารทางการตลาดไปยังช่องทางต่างๆ ที่ต้องมีความสอดคล้องกันของข้อมูลที่สื่อสารออกไป จนสามารถสร้างความน่าเชื่อถือในประเด็นการสื่อสารเหล่านั้นกับลูกค้าได้ แทนที่จะใช้เพียงช่องทางเดียวในการสื่อสาร
นางสาวนภัศภรณ์ ประดาศักดิ์ผู้จัดการฝ่ายบริหารสินค้า ICONCRAFT กล่าวว่า การสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ภาพลักษณ์ (Image) ให้กับสินค้าเพื่อให้เข้าไปในจิตใจ ทำอย่างไรถึงจะให้สินค้ามีจุดเด่น และเข้าไปอยู่ในใจผู้ซื้อ รวมถึงเกิด Integrity สร้างลัทธิ การรวมกลุ่มคนได้ หรือการสร้าง (Brand royalty)ในงานคราฟต์ คือ การทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำคือโจทย์ใหญ่ในการทำการตลาด และเพื่อให้สามารถต่อกรได้กับคู่แข่งทางการตลาดของแบรนด์ ดังนั้นการสร้าง Branding ให้แข็งแรงแข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญ แล้วหนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์ให้สตรอง นั่นก็คือ Brand Identity นั่นเอง ไม่ว่าแบรนด์เล็กหรือใหญ่ก็ต้องใช้สิ่งนี้ให้เป็นสิ่งสำคัญอัตลักษณ์เหล่านี้จะถูกแสดงออกไปในรูปแบบของภาพจำของสินค้า เราก็อาจจะต้องสร้างจุดขายขึ้นมาเอง อย่างการสร้างจุดขายบนตัวสินค้า ปรับแต่งสูตร รูปแบบ หรือจะสร้างจุดขายจากบรรจุภัณฑ์ให้มีความแตกต่างก็ถือเป็นอีกหลวิธีหนึ่งที่ดีเป็นต้น
นายศิวัจน์ เลิศศศิศักดิ์ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ART & VISUAL MERCHANDISE บริษัท The Mall Group จำกัด กล่าวว่า “การค้าปลีกแบบไร้ขอบเขต” (Unbounded Retail) เป็นการวางอนาคตให้แก่ผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทยในวันนี้ ควรมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างไรคะ และเรื่องของราคา หรือการเตรียมพร้อมควรมีหลักการหรือแผนการทำงานอย่างไร สำหรับผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม เพราะวันนี้มีการเกิดขึ้นของการค้าแบบไร้รอยต่อ ซึ่งมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในธุรกิจค้าปลีก ทำให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางความสนใจอย่างแท้จริง นับเป็นการก้าวสู่ยุคใหม่ โดยแนวคิดที่เคยแพร่หลาย เช่น “Multichannel” และ “Omnichannel” มีความสำคัญลดลง และการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ผนวกกับความยั่งยืนไม่ใช่เพียงเครื่องมือเสริมในการทำการตลาด แต่เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน – แบรนด์ต่างๆ จะต้องผสานความหลากหลาย จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแกนหลัก นำเสนอประสบการณ์ที่ยั่งยืนโดยไม่เก็บค่าบริการระดับพรีเมียมเพิ่ม นี่คืออนาคตของธุรกิจการค้าที่ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจและพร้อมจ่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม หน่วยงานกำกับดูแลและนักลงทุนก็ขานรับเทรนด์รักษ์โลก แต่แรงกดดันจากผู้บริโภคเสียงดังและสำคัญที่สุด
ร่วมชื่นชมงานศิลปหัตถกรรมจากฝีมือคนไทย ที่นิทรรศการ Universal Craft Market ระหว่างวันที่ 10 – 15 กันยายน นี้ เวลา 10.00-22.00 น. ณ ICONCRAFT ชั้น 4 ไอคอนสยาม
###