สศท.โชว์สุดยอด 10ผลงานสร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยกับการประกวด International Craft Creation Concept Award 2025หรือ I.CCA.2025
17 มีนาคม 2568เวลา 13.00-15.30 น. : สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศ และพิธีเปิดนิทรรศการโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025)ณอาคารพระมิ่งมงคล ชั้น 2 (บริเวณหน้าหอเกียรติยศ) สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ผลนักออกแบบจ.พะเยาคว้ารางวัลชนะเลิศ จากผลงาน Light Hitting Water
ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย(องค์การมหาชน) เปิดเผยถึงการประกวด International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA.2025)ถือได้ว่าเป็นการจัดการประกวดเพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ ให้มีเวทีแสดงความสามารถในการออกแบบ โดยนำงานหัตถกรรมดั้งเดิม มาประยุกต์สู่การสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมสมัย และแสดงศักยภาพผลงานนวัตศิลป์ที่มีความน่าสนใจ อีกทั้งยังแสดงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของไทยให้ก้าวไกลในระดับสากล เป็นการต่อยอดจากการประกวดที่นักออกแบบของไทยต่างให้ความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง
การจัดประกวดปี 2568 ดำเนินการจัดขึ้นเป็นปีที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ผลิตงานศิลปหัตถกรรม นักออกแบบ นักสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา ที่มีความสามารถด้านการออกแบบสร้างสรรค์ งานศิลปหัตถกรรม นำเสนอแนวคิด “Innovative Heritage Craft: หัตถศิลป์แห่งมรดกหัตถกรรม”การสร้างสรรค์นวัตกรรมงานศิลปหัตถกรรมไทยจากเดิม อาทิ เครื่องไม้ เครื่องสาน เครื่องดิน เครื่องทอ เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ เครื่องแก้ว หรือเครื่องหิน ตลอดจนถึงปัจจุบันในกลุ่มผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัสดุ เทคนิคเชิงช่าง กระบวนการที่คิดค้นขึ้นใหม่ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ในการพัฒนารูปแบบผลงานประกวด
สศท. มีพันธกิจหลักในด้านการสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม งานศิลปหัตถกรรมไทยทั่วประเทศให้สามารถเผยแพร่และต่อยอดองค์ความรู้เชิงช่าง สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมที่ร่วมสมัย ที่ขยายผลงานสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับประเทศและสากล โดยการประกวดในปีนี้จะเป็นก้าวแรกในการเปิดโอกาสให้นักออกแบบเจ้าของผลงาน ทั้ง 10 ราย/ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้ร่วมเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานไปพร้อมกับนักออกแบบรุ่นพี่ รวมถึงทายาทช่างศิลปหัตถกรรมทั้ง 10 ท่าน ที่ให้เกียรติร่วมแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ เพื่อให้ได้ 10ผลงาน ที่ตอบโจทย์ความเป็น INNOVATIVE HERITAGE CRAFTได้อย่างน่าชื่นชมได้แก่
ผลงานเก้าอี้กนก นักออกแบบ นายสหรัฐ ศรีสมร แนวคิดจากการหลอมรวมการหลอมรวมระหว่าง ศิลปะไทยดั้งเดิม และ งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ร่วมสมัย ผ่านการตีความลวดลาย กนกเปลวไทยใหม่ ให้อยู่ในรูปแบบของโครงสร้างที่อ่อนช้อยมีมิติและใช้งานได้จริง
ผลงานโคมระย้าอัมพวาAmphawa Chandelier นักออกแบบอภิเษก นรินท์ชัยรังษี แนวคิดจากการออกแบบเครื่องประดับตกแต่งบ้านร่วมสมัยจากเศษวัสดุเครื่องถ้วยเบญจรงค์ โดยนำเศษเครื่องถ้วยเบญจรงค์ที่ชำรุดเสียหาย บิ่น แตก หัก หรือไม่สมบูรณ์แบบจากกระบวนการผลิต มาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าและลดทรัพยากรที่สิ้นเปลือง
ผลงานต้มยำกุ้ง (เพอรานากัน)นักออกแบบช่อฟ้า หงษ์สิทธิชัยกุล แนวคิดการผสมสานงานหัตถศิลป์ ได้แก่ การประดับมุก เปรียบเสมือนน้ำต้มยำ และประดับตกแต่งด้วยอัญมณี (พลอยเนื้ออ่อน) สีเขียว-เหลือง-ส้ม-แดง เป็นแทนสีสันของวัตถุดิบปรุงรส และผสมผสานการปักดิ้นโบราณ
ผลงานวาบุลันนักออกแบบอัรกาน หะยีสาเมาะ ใช้เทคนิค การเหลา การขึงเชือกและการฉลุแกะลายกระดาษมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ
ผลงานวิถีใต้ นักออกแบบสุจิตรา พาหุการณ์, ขนิฐา นารา, เพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิลวดลายรดน้ำ ลายกำมะลอและลายประดับมุขแบบโบราณนำมาคลี่คลายดัดแปลงวิธีการและปรับเปลี่ยนวัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่เพื่อแสดงถึงทัศนคติส่วนตัวผ่านเรื่องราวในวิถีชีวิตของชาวประมงและเพื่อเป็นการสืบทอดเทคนิคที่สำคัญบางประการของช่างไทยโบราณ
ผลงานเหลี่ยม/ทอ/ประกาย นักออกแบบภัทรบดี พิมพ์กิออกแบบเป็นเครื่องประดับที่มุ่งหวังนำเสนอความงดงามและเชิดชูคุณค่าของงานหัตถกรรม “เสื่อกกจันทบูร” ซึ่งเปรียบเสมือนอัญมณีน้ำงามอีกเม็ดหนึ่งที่อยู่คู่กับชาวจันทบุรีมากว่า120 ปี
ผลงานฮูปแต้ม นักออกแบบ รัฐพล ทองดี, วัชรพล คำพรมมา จากการถ่ายทอดวิถีชีวิตพื้นบ้านผ่านศิลปะแห่งความศรัทธา ด้วยเทคนิคการเพ้นท์สีครามธรรมชาติ สีประดู่ สนิมเหล็ก ในรูปแบบสิมอีสาน เพิ่มมิติให้ภาพด้วยการปักมือด้วยเส้นฝ้าย
ผลงาน Light Hitting Waterนักออกแบบศรัณย์ เหมะ, เหมวรรณ ศรีสุวรรณ์ จากการสะท้อนความเชื่อ ความศรัทธา ประเพณีอันงดงามของชาวล้านนา ผ่านผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สืบสานภูมิปัญญาหัตถกรรมจักสานผักตบชวา
ผลงานพาราคราฟท์ นักออกแบบถากูร เชาว์ภาษี โดยการใช้รูปร่างของ LICHEN (ไลเคน) ที่สามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณผิวของต้นยางพาราซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ
และผลงานUnder the Seaนักออกแบบปัทวี เข็มทอง ขยะในท้องทะเลคือขวดพลาสติก จึงได้นำขยะจากขวดพลาสติกที่เก็บมาจากในทะเล และนำมาผ่านการแปรรูปเป็นเส้นใย Recycled มาสร้างสรรค์ผลงาน
ที่สำคัญโครงการ I.CCA.2025 ครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ อาทิ ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่, ผศ.ดร.วิทวัน จันทร, คุณเพลินจันทร์ วิญญรัตน์, คุณจิตต์สิงห์ สมบุญ, คุณวิชระวิชญ์ อัครสันติสุขซึ่งคณะกรรมการฯ แต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การต่อยอดทางศิลปะ รวมถึงการต่อยอดทางการตลาด เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน
ซึ่งทำให้ผู้ประกวดได้มุมมองการออกแบบ การวิเคราะห์โจทย์ให้สอดคล้องกับแนวคิดในหัวข้อการประกวด และแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบรูปแบบร่วมสมัยใหม่ๆซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับนักออกแบบเป็นอย่างมากและเป็นการผลักดันศักยภาพให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้อีกด้วย
ผลงานชนะเลิศ
ชื่อผลงาน Light Hitting Water
ชื่อนักออกแบบศรัณย์ เหมะ, เหมวรรณ ศรีสุวรรณ์
“Light Hitting Water แสงกระทบผิวน้ำ” สะท้อนความเชื่อ ความศรัทธา ประเพณีอันงดงามของชาวล้านนา ผ่านผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่สืบสานภูมิปัญญาหัตถกรรมจักสานผักตบชวา ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาตินำมาผสานกับเทคนิคและภูมิปัญญาท้องถิ่นจนเกิดเป็นโคมไฟดีไซน์ร่วมสมัย รูปทรงของโป๊ะโคมไฟได้แรงบันดาลใจ
ผลงานรองชนะเลิศ
ชื่อผลงาน วิถีใต้
ชื่อนักออกแบบสุจิตรา พาหุการณ์, ขนิฐา นารา, เพชรน้ำหนึ่ง เจริญภูมิ
แรงบันดาลใจ ข้าพเจ้าคิดเห็นว่างานศิลปกรรมไทยโบราณโดยเฉพาะงานจิตรกรรมลายรดน้ำ ลายกำมะลอและลายประดับมุขนั้นเป็นงานช่างชั้นสูงและเปรียบเสมือนศิลปกรรมประจำชาติของไทยที่กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลาอาจด้วยเหตุที่กรรมวิธีกระบวนการในการสร้างสรรค์มีความซับซ้อน
สำหรับผู้สนใจเชิญเข้าร่วมชมนิทรรศการแสดงผลงานโครงการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศ (International Craft Creation Concept Award 2025: I.CCA. 2025)ในธีม “Innovative Heritage Craft: หัตถศิลป์แห่งมรดกหัตถกรรม”ทั้ง 10ผลงาน สถานที่ หน้าหอเกียรติยศ อาคารพระมิ่งมงคล สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย ชั้น 2ในวันที่ 17มีนาคม 2568เป็นต้นไป เวลา 10.00 – 16.00 น.
###